Naruto - Animated Dancing Akatsuki Tobi
ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก น.ส. ดลยา ชูทอง เลขที่17 ม.4/2

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Asean

ASEAN

 asean_564
asean flags2
"One  Vision, One Identity, One Community"หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

800px-flag_of_asean_svg
asean_2510
กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิสาหกิจชุมชนบ้านดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร


ประวัติวิสาหกิจชุมชน
บ้านดอนไก่ดี จ. สมุทรสาคร
             จากคำบอกเล่าของสมาชิกกลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ หมู่ที่ 1 ตำบลดอนไก่ดี ที่ส่วนใหญ่ เคยทำงานเป็นลูกจ้างใน โรงงานเสถียรภาพซึ่งเป็นโรงงานผลิตถ้วยชามเซรามิค (ถ้วยชามตราไก่) ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น ตั้งอยู่ที่ตำบล อ้อมน้อย (เทศบาลเมืองอ้อมน้อย) อำเภอกระทุ่มแบน มีหลายคนเป็นสุภาพสตรีที่ทำงานอยู่แผนกเขียนลายครามและลายเบญจรงค์ และเป็นสมาชิกของกลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ในปัจจุบัน เช่น คุณอุไร แตงเอี่ยม, คุณผุดผ่อง ภู่มาลี, คุณรัชนี ทองเพ็ญคุณประภาศรี พงษ์เมธา, คุณมะลิ จันทบดี ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ ได้รับการถ่ายทอดเอาความรู้และภูมิปัญญาจากวิทยากรทั้งคนไทยและคนจีนโบราณที่ทางโรงงานเสถียรภาพเชิญมาสอนและแนะนำ การเขียนลวดลายต่างๆ ลงบนถ้วยชาม ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2532 โรงงานเสถียรภาพประสบปัญหาภาวะขาดทุน มีการปลดคนงานออก และได้ปิดกิจการลงในเวลาต่อมา ทำให้ลูกจ้างคนงานหลายคนตกงาน หลังจากนั้นได้มีลูกจ้างคนงานของดอนไก่ดีได้รวมกันปรึกษาหารือ เพื่อนำเอาความรู้ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาที่ได้รับมาลงทุนทำผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนในหมู่บ้านและได้มีการประยุกต์คิดค้นแบบลวดลาย รวมทั้งประโยชน์ใช้สอยและความต้องการของตลาดทำให้เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา

            ในปี พ.ศ. 2536 สำนักงานการพัฒนาชุมชนอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ได้มีการรณรงค์ จัดตั้งกลุ่มอาชีพสตรีในระดับตำบลหมู่บ้าน และสนับสนุน จัดส่งหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดีเข้าประกวด หัตถกรรมดีเด่น ของมูลนิธิหม่อมงามจิตติ์บุรฉัตร ประจำปี 2544 และหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดีได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ทำให้เครื่องเบญจรงค์มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมยอมรับมากขึ้น สมาชิกในกลุ่มหมู่บ้านจึงได้รวมกลุ่มกันเป็นระบบและเข้มแข็งขึ้น ภายใต้ชื่อ กลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี

            ในราวปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้แก่ชุมชน โดยจัดให้มีการรณรงค์โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” (One Tambon One Product) ขึ้นทั่วประเทศ และได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน ได้มีการจัดประกวดคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นในแต่งละแห่ง และผลิตภัณฑ์ เบญจรงค์ของกลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี ได้รับการคัดสรรเป็นสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (product champion) ระดับ 5 ดาว จึงเป็นที่รู้จักยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ มีลูกค้ามากมายหลากหลาย ในขณะที่ผลิตเบญจรงค์ก็มีการพัฒนาคิดค้น ดัดแปลง สร้างความ เข้มแข็งทางด้านภูมิปัญญาชุมชนและช่วยเหลือ สร้างอาชีพรายได้ให้กับชุมชนมากขึ้น  มีการพัฒนาตัวเองขยายผลการดำเนินงานออกไป อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการออกแบบและ   การเขียนลายเบญจรงค์ได้มีผู้ชำนาญการและมีความสามารถพิเศษเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตเบญจรงค์อย่างกว้างขวางมากขึ้น และกลุ่มชุมชนดอนไก่ดี ได้มีการบริการจัดการโดยสมาชิกและคณะกรรมการการบริหารกลุ่มฯ โดยมี  นางอุไร  แตงเอี่ยม เป็นประธานฯ ปัจจุบันเป็นสมาชิกเครือข่าย OTOP อำเภอกระทุ่มแบนและเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ความสัมพันธ์ ในระหว่างกลุ่มเน้นการพูดคุย หรือการปรึกษาหารือ ในเรื่องต่างๆ เช่น การแจ้งข้อมูลข่าวสารการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในงานมหกรรมและเทศกาลตามที่ทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น เพื่อเตรียมผลิตภัณฑ์ไปร่วม การผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย การจัดซื้อวัตถุดิบเป็นการร่วมจัดซื้อก็จะได้ราคาถูกลงเป็นการลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น ส่วนการร่วมรับผลประโยชน์สมาชิกแต่ละรายจะมีการผลิตสินค้าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ก็มีการผลิตสินค้าร่วมกันหากมีการสั่งทำเป็นปริมาณมาก หรือถ้ามีกลุ่มทัศนะศึกษาจำนวนมาก ก็จะมีการบรรยายถึงภาพรวม ประวัติความเป็นมา ขั้นตอนการผลิต ณ ศูนย์ OTOP หลังจากนั้นก็จะมีการแบ่งกลุ่มผู้มาเยี่ยมชมออกเป็นกลุ่มย่อย นำชมการผลิตเบญจรงค์ของสมาชิกแต่ละบ้าน เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสจำหน่ายสินค้าได้ทัดเทียมกัน การเอื้อเฟื้อต่อชุมชน สมาชิกกลุ่มฯ ยินดีสนับสนุนส่วนราชการ ทั้งการมอบผลิตภัณฑ์ให้เป็นของฝากของที่ระลึกทุกครั้งที่มีผู้มาตรวจเยี่ยม ทั้งการร่วมต้อนรับแขกผู้มีเกียรติระดับประเทศหลายๆครั้ง โดยให้การต้อนรับที่อบอุ่นและเป็นมิตร ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ของชุมชน อำเภอ จังหวัด และประเทศไทยนอกจากนี้กลุ่มฯ ยังให้บริการที่พักค้างแรม (HOME STAY) มีการจัดสรรผู้มารับบริการไปยังสมาชิกอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งให้บริการสอนการเรียนลายเบญจรงค์ ชมการสาธิตทำเบญจรงค์ และสวนกล้วยไม้นานาพันธ์ ฯลฯ